ชื่อไทย : เอื้องฝาหอย
ชื่อท้องถิ่น : รองเท้านารีเหลืองตรัง(ตรัง)
ชื่อสามัญ : รองเท้านารีขาวชุมพร, รองเท้านารีเหลืองพังงา, เอื้องฝาหอย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum godefroyae (God.-Leb.) Pfitzer
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
ลักษณะวิสัย : กล้วยไม้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
มีทรงพุ่มใบขนาด 15 – 18 เซนติเมตร
ใบ :
รูปแถมถึงรูปขอบขนาน แผ่นใบเป็นลายหินอ่อนสีเขียวเข้มสลับเขียวเทาใต้ใบมีจุดประสีม่วงแดงหนาแน่น
ดอก :
ดอกเดี่ยว ก้านดอกตั้งตรงสีม่วงแดงเรื่อ ยาว 10 – 12 เซนติเมตร และมีขนสั้นปกคลุม เมื่อดอกบานเต็มที่เป็นรูปกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 – 8 เซนติเมตร กลีบหนางุ้มมาด้านหน้า กลีบนอกบนและกลีบดอกมีสีขาวนวล มีแต้มสีม่วงแดงเข้มกระจายทั่ว กระเป๋ามีสีขาวนวลและมีจุดประสีม่วงแดง รูปทรงคล้ายรูปไต กึ่งกลางมีแต้มสีเขียวหรือเหลือง ด้านบนหยักเป็นร่องเล็กน้อย ด้านล่างเป็นติ่งแหลม
ผล :
ระยะติดดอก - ผล : ติดดอกตลอดทั้งปี
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :

สภาพทางนิเวศวิทยา :
นิเวศวิทยา       มีการเจริญเติบโตแบบพืชอาศัยบนดินและตามซอกหิน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 100 เมตร ต้องการความชื้นในอากาศสูงและค่อนร่มเงา
ถิ่นกำเนิด       ไทย
การกระจายพันธุ์        มีการกระจายพันธุ์ภาคใต้ของไทย
การปลูกและการขยายพันธุ์ : ควรปลูกในโรงเรือนที่มีการพรางแสง ถ้าจะให้ดีควรมีหลังคากันฝน อากาศถ่ายเทได้สะดวก รดน้ำสม่ำเสมอ ปลูกในกระถางพลาสติก หรือกระถางดินเผา วัสดุปลูกที่ควรระบายน้ำได้ดี เก็บความชื้นได้ดี ทนทาน ที่นิยมใช้ได้แก่ โฟม อิฐทุบ ถ่านเกล็ด หินภูเขาไฟ ใบทองหลาง ใบก้ามปูผุ รดน้ำวันละครั้งในตอนเช้า ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และแยกหน่อ
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :
ปลูกประดับตกแต่งสวนภายในและภายนอกอาคาร
แหล่งอ้างอิง : http://www.orchidspecies.com/paphglaucophyllum.htm http://slipperorchids.info/paphdatasheets/cochlopetalum/glaucophyllum/index.html [๑] อุไร จิรมงคลการ. ๒๕๕๑. กล้วยไม้รองเท้านารี. พิมพ์ครั้งที่ ๖. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
กล้วยไม้
ที่อยู่ :
หมายเหตุ :
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554